หลักการทำงานวันนี้ของดีไซด์เนอร์ไทย

จากการทำงานด้านการออกแบบเครื่องประดับมาพอสมควรที่จะบอกเล่าความจริงในปัจจุบันของดีไซด์เนอร์ไทย  ปัญหามักเกิดจากผูประกอบการณ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นคุณค่าของนักออกแบบเท่าที่ควร  มักจะเห็นดีไซด์เนอร์เป็นแค่ช่างคนนึงเท่านั้น  ทั้งที่ความจริงแล้วการจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันสินค้าสู่ตลาดโลกได้  แต่ผู้ประกอบการมักให้ความสำคัญกับฝ่ายขายมากเกินไป  โดยขาดการดูแลที่ดีจากองค์กรณ์  จึงไม่แปลกเลยที่จะมีนักออกแบบไทยอยากไปเมืองนอกกันมากมาย  เพราะด้วยเงินเดือนที่สูงและความสำคัญในองค์กรณ์ที่นั่นมีสูงมาก  ผมจึงมีความสับสนในระบบการทำงานในเมืองไทยที่มีคนเก่งมากมาย แต่ไม่ได้เติบโตไปข้างหน้าซัก

การถกเถียงว่า ความสำคัญระหว่างนักออกแบบกับฝ่ายขายอะไรมีความสำคัญมากกว่ากัน โดยสรุปได้ว่าทั้งสองมีความสำคัญเท่ากัน แต่ต้องมีการแบ่งความสำคัญออกจากกันโดยสิ้นเชิงโดยในบทความนี้ ผมขอพูดถึงความสำคัญทางด้านการออกแบบ (เพราะผมเป็นดีไซน์เนอร์) ปัจจุบันนี้การทำงานหรือการประกอบการมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบเข้ามาประกอบ การแข่งขันทางการตลาดปัจจุบันแข่งกันทางด้านเทคโนโลยี ความทันสมัย ความสะดวกสบาย แต่หารู้ไม่ว่าในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีการบวกความสร้างสรรค์เข้าไปในชิ้นงานด้วย ความต้องการของผู้บริโภคจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการออกแบบ แต่ผู้ประกอบการมักจะมองข้าม นี่คือจุดอ่อนของการออกแบบในประเทศไทยที่ยังไม่ไปไหนสักที

การแสดงภาพแหวนในมุมมองบน, ด้านหน้า และมุมมองด้านข้าง

ในบางครั้ง แบบของแหวนอาจจำเป็นที่จะต้องแสดงภาพในมุมมองด้านข้างด้วย เพื่อที่จะกำหนดรายละเอียดที่ยังไม่ชัดเจนในมุมมองที่เป็น Top View หรือ Front View เช่น การเว้นช่องไฟในส่วนที่ยื่นต่อระหว่างแนวพลอยแบ็กเก็ตกับกระเปาะก้านแหวน (gallery) และการสอบลงของก้านแหวน เป็นต้น

ประสบการณ์จากงานที่ได้ทำมาในตอนต้น คุณสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการวาดแบบในมุมมองด้านข้าง ดังรูปที่ 1 และ 2

Quick Sketching 1

การร่างภาพด้วย Template

(Sketching with the use of Template)

Top View :

วิธีการที่ง่ายที่สุดในการแสดงภาพของแหวน คือ การร่างภาพให้เห็นในลักษณะที่มองจากด้านบน (Top View) ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถเข้าใจได้โดยง่าย เนื่องจากเป็นมุมมองเดียวกับที่เรามองขณะแหวนสวมอยู่ที่นิ้ว การมองจาก Top View เป็นการที่เราจะได้มองเห็นแบบของแหวนที่ได้ถ่ายทอดมาจากความคิดของผู้ออกแบบ หรือ เพื่อเป็นการเตรียมแบบแหวนหลายๆแบบในการนำเสนอ (Presentation)

เนื้อหาที่จะนำเสนอต่อไป จะมุ่งเน้นในเรื่องของความสามารถในการปรับใช้เพื่อเป็นการทดลองกับแบบต่างๆ ได้ นั่นคือ คุณสามารถที่จะนำอัญมณีรูปวงรี ขนาด 7.5 x 11 ไปปรับให้เข้ากับแบบต่างๆของก้านแหวน (Shank) และทำการสร้างสรรค์แบบได้อีกหลายๆแบบเพื่อให้ลูกค้าเลือก

Materials : วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

1. ดินสอแหลม ( 4 H )

2. กระดาษด้านอย่างดี (Bond Paper)

3. กระดาษไข

4. แผ่น Template อัญมณี หรือ Template 45 องศา รูปวงรี

5. Template การออกแบบจิวเวลรี่ Top view # 4

Procedure : กระบวนการ

ขั้นที่ 1 : การวาดเส้นศูนย์กลางลงบนกระดาษด้านวางแผ่นกระดาษด้านบน Drawing Board และยึดให้อยู่กับที่โดยใช้เทปยึด (Drafting Tape )

-ใช้ Parallel Ruler วาด Guide Line เป็นเส้นแนวตั้ง และเส้นแนวนอนตัดกัน จุดที่ตัดกัน คือ จุดศูนย์กลาง

-ใช้ ฉาก 45 องศา ลากเส้นทแยงมุมผ่านจุดศูนย์กลาง

-ให้ลากเส้น Finger Line 2 เส้น เพื่อกำหนดจุดซึ่งมีระยะห่างโดยประมาณเท่ากับขนาดของนิ้วผู้สวมแหวน (ลูกค้า) คือ ประมาณ 17 มิลลิเมตร (รูปที่ 1)

ขั้นที่ 2 : วาดอัญมณีรูปวงรีลงบนแผ่นกระดาษไข

-ให้วางแผ่นกระดาษไขทับลงบนจุดศูนย์กลาง โดยยึดให้อยู่กับที่ด้วยเทปกระดาษ

-ความโปร่งใสของกระดาษไข ทำให้สามารถมองเห็นเส้น Guide Line ที่อยู่ข้างใต้ได้ จากนั้น ให้สร้างภาพร่างที่สมมาตรและจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลาง

-สร้างรูปอัญมณีเป็นวงรีขนาด 7.5 x 11 ด้วย Template รูปวงรี และตั้งให้อยู่ตำแหน่งตรงกลาง (รูปที่ 2)

ขั้นที่ 4

-เพื่อเป็นการกำหนดส่วนของหน้าแหวนที่อยู่เหนือนิ้วขึ้นมา ให้ลากเส้นแนวดิ่ง 2 เส้นขนานกันลงมาโดยเป็นเส้นสัมผัสกับพลอยรูปวงรีเม็ดยอด (รูปที่ 5) (B1)

-เหนือเส้นรอบขนาดนิ้ว (Finger size) ให้กะระยะที่เหมาะสม วาดเส้นแนวนอนเพื่อแสดงถึงระนาบที่สูงขึ้นจากนิ้วของหน้าแหวน และให้ต่อเส้นออกมายังด้านขวาเพื่อแสดงถึงระนาบเดียวกันนี้ในมุมมองด้านข้าง (รูปที่ 5) (B2)

-เพื่อเชื่อมโยงขนาดของพลอยรูปวงรีจากมุมมองบน (Top View) มายังมุมมองด้านข้าง (Side View) ให้วาดเส้นแนวนอน 2 ซึ่งเป็นเส้นสัมผัสกับเม็ดพลอย โดยให้ต่อเส้นมายังด้านขวา และลากให้มาบรรจบกับเส้นทแยงมุมของรูปในตำแหน่งขวาบน (B3)

-ที่จุดตัดของเส้นแนวนอนกับเส้นทแยงมุม ให้ลากเส้นแนวดิ่งขนานกัน 2 เส้นลงมาสัมผัสกับเส้นที่แสดงแนวยกระดับ (B4)  จากนั้นให้ใช้ Template รูปวงรี ออกแบบพลอยที่อยู่ในมุมมองด้านหน้า (Front View) และ มุมมองด้านข้าง (Side View) (รูปที่ 5)

ขั้นที่ 5

-เช่นเดียวกับโครงงานที่ทำมาก่อนหน้านี้ ให้ทำมุมมองบน (Top View) ให้เสร็จสมบูรณ์ แล้วออกแบบรูปวงรีและก้านแหวนที่คาบเกี่ยวกัน (รูปที่ 6 ซ้ายบน)

ขั้นที่ 6

-เชื่อมโยงฐานรูปวงรีลงมายังมุมมองด้านหน้า (Front View) โดยใช้เส้นแนวดิ่งขนานกัน 2 เส้น (C1) และให้ทำวิธีเดียวกันกับการสร้างแนวระนาบที่สูงขึ้นของเม็ดพลอย วาดเส้นแนวนอนเพื่อแสดงถึงเส้นฐานของแนวยกระดับนี้ให้สูงในระดับที่คุณต้องการ ต่อเส้นแนวนอนนี้ไปทางด้านขวามือเพื่อแสดงถึงเส้นฐานของแนวยกระดับที่อยู่ในมุมมองด้านข้าง (Side View) (รูปที่ 6) (C2)

-ให้ทำการเชื่อมโยงขนาดของหนามเตย เริ่มต้นด้วยเส้นแนวดิ่งจากมุมมองบน (Top View) มายังมุมมองด้านหน้า (Front View) และลากเส้นแนวนอนมายังมุมมองด้านข้าง (Side View) จากนั้น เริ่มจากมุมมองบนเช่นกัน ใช้เส้นแนวนอนเชื่อมโยงไปยังเส้นทแยงมุมก่อน แล้วจึงใช้เส้นแนวดิ่งเชื่อมโยงมายังมุมมองด้านข้าง (Side View)

-เชื่อมโยงขนาดของฐานรูปวงรี มายังมุมมองด้านข้าง (Side View) (ทำวิธีเหมือนกับตอนเชื่อมโยงขนาดของเม็ดพลอย) โดยใช้เส้นแนวนอน 2 เส้นลากมายังด้านขวา (C3) และลากลงมาให้ชนกับเส้นที่เป็นส่วนฐานของแนวยกระดับ (C4)

ขั้นที่ 7

-ที่มุมมองบน กำหนดตำแหน่งของบ่าแหวน แล้วโยงเส้นลงมายังมุมมองด้านหน้า (Front View) (รูปที่ 7) (D1) ที่มุมมองด้านหน้า กำหนดแนวยกระดับของบ่าแล้วเชื่อมโยงมายังมุมมองด้านข้าง โดยใช้เส้นแนวนอน (D2)

-จากมุมมองบน (Top View) เชื่อมโยงความหนาของก้านแหวนมายังมุมมองด้านข้าง (D3 & D4) ทำให้เส้นแสดงรูปร่างของก้านแหวนเสร็จสมบูรณ์ทั้งในมุมมองด้านหน้าและมุมมองด้านข้าง (รูปที่ 7)

หมายเหตุ : เส้นเชื่อมโยงต่างๆจะต้องลบออกทุกครั้งในตอนสุดท้าย เมื่อแบบที่วาดไว้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และเพื่อประหยัดเวลาที่จะต้องมาลบออกในภายหลัง คุณอาจจะวาดเส้นต่างๆที่ใช้เชื่อมโยงขนาดด้วยดินสอ แต่ให้ใช้ไม้บรรทัดเป็นแนวนำสายตาแล้วให้ทำรอยขีดด้วยดินสอเฉพาะจุดที่ตัดกันเท่านั้น (ไม่ต้องลากเส้น) (รูปที่ 8)

ขั้นที่ 8

-วาดส่วนที่ยื่นต่อระหว่างแนวพลอยแบ็กเก็ตกับกระเปาะก้านแหวน (gallery) หรือด้านข้างของฐานรูปวงรีของแหวนที่มุมมองด้านหน้าก่อน โดยลากเส้นต่อออกมา และให้มาบรรจบกันเป็นรูปกรวยที่ส่วนล่างของก้านแหวนเพื่อเป็นการกำหนดความลาดเอียง

-ลากเส้นเชื่อมโยง (รูปที่ 9) (E) เพื่อไปกำหนดส่วนที่เป็น gallery ซึ่งเชื่อมระหว่างแนวพลอยแบ็กเก็ตกับกระเปาะก้านแหวน ในมุมมองด้านข้าง (Side View) และให้กำหนดช่องไฟบน gallery ทั้งในมุมมองด้านหน้าและมุมมองด้านข้าง (รูปที่ 9)

ขั้นที่ 9

-วาดพลอยที่ล้อมรอบและพลอยแบ็กเก็ต (baguette) ลงในมุมมองทั้งสาม

-สำหรับการวาดแบบที่นำไปใช้ผลิต (Working Drawing) ให้ลบเส้นศูนย์กลางและเส้นเชื่อมโยงที่ไม่ต้องการออก ให้ทิ้งไว้เฉพาะเส้นที่ช่วยในการแสดงถึงมิติหรือขนาดเท่านั้น (รูปที่ 10)

-สำหรับการลงสีนั้น คุณอาจจะลบเส้นศูนย์กลางและเส้นเชื่อมโยงก่อนที่จะทำการลงสี อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับเทคนิคเฉพาะตัวของคุณ ในโครงการต่อๆไป จะเป็นการอธิบายถึงเทคนิคในการลงสีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เด่นสะดุดตา และมีลักษณะเหมือนจริง ขณะที่ สี ทำให้แบบที่วาดออกมามีชีวิตชีวา  เส้นศูนย์กลาง ที่วาดไว้นั้น ก็ใช้อ้างอิงในการวาดแบบ เพื่อให้เกิดความถูกต้องตรงกันในเชิงวิศวกรรม


Beylikdüzü escort
Beylikdüzü escort bayan
Escort Beylikdüzü