อุตสาหกรรมเครื่องประดับกับนักออกแบบ

อุตสาหกรรมแยกประเภทโดยถือเกณฑ์อื่น ๆ ได้อีก เช่น แยกประเภทอุตสาหกรรม ตามลักษณะการใช้ แบ่งออกเป็นอุตสาหกรรมสินค้าทุน และอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค แยกประเภทโดยคำนึงถึงลัษณะสภาพของผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็นอุตสาหกรรมประเภทถาวร ประเภทกึ่งถาวร และประเภทไม่ถาวร ฯลฯ แต่การแบ่งประเภทอุตสาหกรรมในลักษณะดังกล่าว มีการอ้างถึงน้อย

ประเภทของอุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งตามลักษณะสถานประกอบการ ซึ่งจำแนกออกเป็น

  • อุตสาหกรรมสกัดจากธรรมชาติ
  • อุตสาหกรรมการผลิต
  • อุตสาหกรรมการขนส่ง

งานเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม

แบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรมสามารถจำแนกได้เป็น

  • อุตสาหกรรมขนาดใหญ่อุตสาหกรรมขนาดกลาง
  • อุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

แบ่งตามประเภท ของผลิตภัณฑ์จำแนกออกได้เป็น

  • อุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค
  • อุตสาหกรรมสินค้าทุน

งานเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม

ดังนั้น การผลิตเครื่องประดับจัดอยู่ในประเภทของอุตสาหกรรมทั้งหมดที่กล่าวมา เพราะในปัจจุบันเครื่องประดับมีการผลิตทั้งที่เป็น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ทำการผลิตในระบบ อุตสาหกรรม หรือกระทั่งมีการผลิตกันเองภายในครอบครัว ซึ่งจัดอยู่ในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

งานเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณี จึงยึดหลักของกระบวนการผลิต ในระบบอุตสาหกรรมมาเป็นมาตรฐานและแนวทางในการผลิตเครื่องประดับเพื่อที่จะผลิตเครื่องประดับที่มีคุณภาพและถูกต้องตามมาตรฐานในระบบอุตสาหกรรม

งานเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม

ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยยังไม่หลุดพ้นภาวะถดถอย ตลาดการค้าเครื่องประดับเริ่ม มีการขยายตัวในอัตราต่ำ นักวิเคราะห์และคนในวงการตลาดค้าเครื่องประดับและอัญมณีของไทย ได้แสดงความเห็นและคาดการณ์แนวโน้มเครื่องประดับอัญมณีไทย ที่จะเกิดขึ้นไปจนถึงสิ้นปี 2011 และ ในปีต่อไป ในด้าน พฤติกรรมผู้บริโภค ภาวะตลาดค้าปลีก ช่องทางจัดจำหน่าย จำนวนผู้ประกอบการ และ สินค้าเครื่องประดับกลุ่มใหม่ สรุปได้ ดังนี้

งานเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม

1. พฤติกรรมผู้บริโภค

ปัจจุบัน ผู้บริโภคไทย ยังไม่ผ่านมรสุมเศรษฐกิจตกต่ำของไทย ภาวะดังกล่าวได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบริโภค จากที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไปเป็นแบบใช้จ่ายประหยัด ซื้อหาสินค้าราคาย่อมเยา หรือกล่าวได้ว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความเคยชินกับการใช้จ่ายแบบประหยัด เป็นนิสัยไปแล้ว ซึ่งนักออกแบบเครื่องปรดับมีความเชื่อว่า ภาวะการใช้จ่ายของผู้บริโภคแบบฟุ่มเฟือยหรือมือเติบเช่นในช่วงปี 2545-2550 จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว ในเรื่องของวัสดุในการผลิตที่ถูกลง ผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคตของไทย จะซื้อเครื่องประดับที่มีราคาระดับกลางหรือราคาย่อมเยา ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคไทยจะขายเครื่องประดับราคาแพงที่เก็บหรือสะสมไว้ เพื่อนำเงินที่ได้รับไปใช้จ่าย และซื้อเครื่องประดับในราคาที่ย่อมเยา

งานเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม

2. ภาวะตลาดค้าปลีก

ปัจจุบัน ตลาดค้าปลีกเครื่องประดับและอัญมณีของไทย ในหมวดของเครื่องประดับเทียม ยังขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะโบ๊เบ๊,ประตูน้ำ,สำเพ็ง,วงเวียนใหญ่ ผู้นำตลาดค้าปลีกเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดของไทย และร้านค้ามากมายทั่วประเทศ ภาวะยอดขายกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเปิดร้านสาขาเพิ่มเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่วงการ ค้าปลีกเครื่องประดับกำลังจับตามอง และถูกวิพากวิจารณ์ อย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ ซึ่งหากสถานะการค้าของร้านเครื่องประดับราคาแพงเลวร้ายลงไปอีก จะส่งผลกระทบต่อตลาดค้าเครื่องประดับราคาถูกเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของยอดขายที่คนซื้อไทยนิยมของราคาไม่แพง

งานเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม

3. ช่องทางจัดจำหน่ายใหม่

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไทย ส่งผลกระทบต่อการลดลงของยอดขายซึ่งผ่านช่องทางปกติ คือ ร้านค้าปลีกเครื่องประดับ และ ห้างสรรพสินค้า แต่เป็นผลดีให้เกิดช่องทางใหม่ในการจัดจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณีในไทย แยกเป็น 2 ช่องทาง คือ (1) การขายแบบ Private Sales ซึ่งเป็นการขายแบบเชิญเพื่อนสนิท ลูกค้าสำคัญ หรือ ลูกค้าประจำ มาชมและเลือกซื้อสินค้า วิธีการนี้ได้รับความนิยมเพิ่มเป็นลำดับ และ (2) การขายทาง Online Selling เป็นช่องทางใหม่ที่ร้านค้าปลีกหันมาใช้เพื่อจำหน่ายเครื่องประดับ แทนการเปิดร้านสาขาเพิ่มเติม ร้านค้าปลีกเครื่องประดับบางรายลดจำนวนสาขาลง และหันมาเพิ่มการขายทาง Online แทน

4. เครื่องประดับกลุ่มใหม่

ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงเครื่องประดับราคาแพง (Fine Jewelry) และไม่ต้องการซื้อเครื่องประดับราคาถูก (Costume Jewelry) ดังนั้น จึงเป็น ช่องว่างให้เกิดสินค้าเครื่องประดับกลุ่มที่ให้ความพอใจและผู้บริโภคสามารถ ซื้อได้ นักออกแบบเชื่อว่า เครื่องประดับประเภทลูกปัด (Designed Bead Jewelry) และ เครื่องประดับเงิน (Silver Jewelry) จะเป็นเครื่องประดับที่มีความเหมาะสมและตรงความต้องการของผู้บริโภค และจะเป็นกลุ่มเครื่องประดับได้รับความนิยมและจำหน่ายได้ดี

5. การหดตัวของผู้ประกอบการ

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไทย ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเครื่องประดับ และร้านค้าและผู้ประกอบการค้าเครื่องประดับการเลิกกิจการจำนวนมากในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา  จะมีการรวมกิจการ (Consolidation) เพื่อลดการแข่งขันในตลาด ซึ่งอาจจะเป็นในลักษณะที่มีนักลงทุนนอกภายนอกตลาดเครื่องประดับ เช่น กลุ่ม Private Equity หรือ Hedge Fund Investor เข้าซื้อกิจการร้านค้าเครื่องประดับ ดังนั้น การขายกิจการให้นักลงทุน จึงเป็นทางรอดทางหนึ่งของร้านค้าปลีกเครื่องประดับในไทย

งานเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม

แหล่งข้อมูลและข่าวสารของตลาดเครื่องประดับในไทย ที่สำคัญ คือ การเข้า ร่วมงาน/ชมงานแสดงสินค้าเครื่องประดับในสหรัฐฯ วารสาร/นิตยสารที่สำคัญของตลาดเครื่องประดับ รวมทั้ง สมาคมการค้าเครื่องประดับไทย

JCK Jewelry Show

JA Jewelry Show

G.L.D.A. Tocson Gem & Jewelry Show

นิตยสาร National Jeweler

นิตยสาร Jewelers Circular Keystone

Jewelers of America

Jewelers Vigilance Committee