ศิลปะเพิ่มมูลค่าสินค้า

ดูจากหัวข้อแล้วคงจะทราบดีแล้วใช่มั้ยครับว่าบล้อคนี้เราจะมาพูดถึงการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยศิลปะ มีหลายอย่างที่เราควรดูและเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการตลาดแบบที่ต้องขายทีละมากๆ ซึ่งผมเรียกว่าการตลาดแบบหมูกระทะบุฟเฟ่ ที่ต่างชาติมักมองเราเช่นนั้น แล้วทำไมไม่ลองคิดดูครับว่าการทำตลาดแบบหมูกระทะนั้น มันทำให้มูลค่าสินค้าดูไม่มีราคาเลยแม้แต่น้อย แล้วยิ่งมาดูคู่แข่งด้านการค้าและการส่งออกนั้นมีหลายประเทศที่นำหน้าเราไปแล้วอย่างไม่เห็นฝุ่น ผมว่ามันมาจากการคิดเพิ่มมูลค่าสินค้าในประเทศให้มีราคาที่สูงมาก สนองความต้องการตลาดได้อย่างชัดเจนและที่ผมจะมาพูดในวันนี้นอกจากเอกลักษณ์ของไทยที่หาใดเทียมได้ มาใช้อย่างถูกที่ถูกทางและปรับให้เข้ากับสมัยจึงเป็นเรื่องที่คนไทยอย่างเราควรให้ความสำคัญด้านนี้ให้มากๆ เพราะการที่เราสามารถทำให้สิ่งที่มีในประเทศของเรามีสินค้าที่มีการเพิ่มมูลค่าด้วยวิธีต่างๆ การสร้างหรือเพื่มมูลค่าให้สินค้า สร้างรายได้เข้าประเทศและเป็นที่ยอมรับของชาวโลกว่าคนไทยก็ทำได้

อย่างที่อาจารย์ @MKTMAG ได้กล่าวไว้ในรายการ The idol ว่า หนังสือการตลาดที่รเานั้นเรียนมานั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในตอนนี้ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะการตลาดในตลาดโลกเรานั้นเปลี่ยนไปมากๆ เพราะการเปลี่ยนไปของสังคมการบริโภค ซึ่งผมเชื่อว่าจริงครับ และจะไม่ผิดใช่มั้ยหากเราเพิ่มมูลค่าสินค้าของเราด้วยการออกแบบและศิลปะที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเรามีค่ามากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป้นการวาด กระระบายสี การแต่งเติมให้สินค้านั้นเกิดเรื่องราว และความน่าสนใจให้กับสินค้า ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สินค้าราคาไม่แพงถูกนำมาเพิ่มค่าได้จริงๆ หรือการจะหาชิ้นส่วนต่างๆมาแต่งเติมเพิ่มความสวยงาม ดูแปลกตา น่าสนใจ ก็เป็นการใช้ศิลปะเพิ่มมูลค่าได้ ไม่ยากเลยหากฝึกฝนและหาแนวการทำผลงานใหม่ๆออกมาให้ไม่ซ้ำใคร

Paint สวยๆลงบนพื้นผิวไหนๆก็คืองานศิลปะครับ

ยกตัวอย่างง่ายๆอย่างอาหารญี่ปุ่นที่เราเห็นๆกันอยู่เนึ่ยก็ไม่ต่างอะไรหากเราเทียบกับราคาทุนที่ไม่แพงมาก แต่การทำให้สินค้าดูน่าสนใจต่างหากล่ะครับที่สามารถดึงดูดความสนใจทำให้คนอยากทานแม้ราคาจะแพงก็ตาม แต่มันสร้างให้สินค้าเพิ่มมูลค่าจากเรื่องราว และการออกแบบหน้าตาของอาหารให้ดูน่าสนใจต่อผู้บริโภค คนใช้ยอมจ่ายแน่นอน

กระป๋องสีก็สามารถเป็น R2D2 ได้จากงานศิลปะแบบง่ายๆ

อย่างไรก็ตามความทันสมัยเข้ามาเป็นส่วนผลักดันความนิยมในสินค้ามากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ความต้องการทางตลาดนั้นดูจะไปได้สวยทีเดียว แต่ผมไม่ใช่นักวิจัยการตลาด แต่ผมใช้ความเป็นผู้ใช้ และผู้ที่ชื่นชอบในความแปลกใหม่และค้นหาสิ่งใหม่ๆที่สามารถทำให้ความพึงพอใจในสินค้าซึ่งผมใช้หลักการ ศิลปะ + การออกแบบ + เรื่องราวที่น่าสนใจของผลิตภัณท์ + ความแปลกใหม่ในสินค้าของเรา + จุดเด่นของแบรนด์ที่เราทำ นี่คือจุดประสงค์และเป้าหมายที่จุดประกายให้กับผมในตอนนี้

การใช้ศิลปะคือการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้มาก

โมเดลของผมคือการทำให้คาฮอง หรือกลองอะคูสติกที่ผมทำในปัจจุบันนั้น ให้มีความแปลกใหม่แปลกตาน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะในท้องตลาดทั่วไปในหมวดของคาฮองนั้นมีความเหมือนกันหลายอย่างที่เหมือนกันไปหมด จนเกิดความซ้ำซาก เช่น

การเพิ่มมูลค่าโดยใช้กาลเวลาเป็นสิ่งที่ลำบากมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ได้

  • ผิวเป็นไม้ มันเงา เคลือบด้วยวิธีต่างๆ
  • ใช้ช่างเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้เล่นดนตรีมาทำ อารมณ์และความรู้สึกของนักดนตรีหายไป
  • รูปทรงคล้ายๆกัน จนมองไม่ออกว่าแบรนด์ไหนเป็นแบรนด์ไหน คือสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง
  • เทคนิคการทำให้เสียงคาฮองมีคุณภาพนั้นต่างกันมาก
  • มีการผูกขาดด้านการออกแบบจากฝรั่งที่คิดว่ารูปทรงอื่นเสียงออกมาไม่ดี
  • คนไทยเราเชื่อว่าของนอกต้องดีเสมอ ของไทยคุณภาพเสียงสู้ไม้ได้
  • ทำให้นักเล่นดนตรีชนิดนี้เชื่อว่าคาฮฮงนั้นเสียงสแนร์ต้องดังชัดเจน แท้จริงแล้วไม่ใช่ ควรดูที่เสียงการเดื่อง(Bassdrum) ว่ามีเสียงสแนร์แทรกออกมารึเปล่า ถ้ามีแสดงว่าคาฮองของท่านมีปัญหาแน่นอน
  • คาฮองที่นำเข้ามาขายในไทยก็ทำในไทยเกือบทั้งหมด เอาไปปั้มตราเมืองนอกแล้วมาขายคนไทยด้วยกันเอง

ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าศิลปะก็ทำให้มูลค่าสินค้าได้ไม่น้อยเลย

ผมเชื่อว่าการพัฒนาสินค้าอย่างกลองคาฮองนั้นมีลู่ทางที่ไปได้ดีมาก หากมีการนำเอาวัตถุดิบใหม่ๆมาสร้างให้เกิดคาฮอง Design สวยๆ ออกจากคาฮองแบบเก่าที่มีตามท้องตลาดทั่วไป