ปรัชญาชีวิตของไทย เกี่ยวกับเครื่องประดับ

ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คนไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันโดยส่วนรวมแล้วมีอุปนิสัยเป็นคนใจเย็น โอบอ้อมอารี รักความสงบ มีวัฒนธรรม และความเชื่อถือในเรื่องต่าง ๆ สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง การเชื่อปรัชญาชีวิต และพฤติกรรมของคนไทยในการสวมใส่เครื่องประดับอัญมณีจึงสอดคล้องและอิงกับประวัติศาสตร์ประเพณีวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

คนไทยนั้น นิยมเครื่องประดับไม่ว่าจะเป็นทองรูปพรรณ หรือทองประดับด้วยพลอยเนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อนหรือหินสีต่าง ๆ ประเทศไทยเป็นตลาดทองคำที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในรอบปีที่ผ่านมาจากสถิติที่สมาพันธ์ผู้ผลิตทองคำแห่งโลกบันทึกไว้ ประเทศไทยมีปริมาณความต้องการทองคำในปี 2537 ถึง 124 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 29% จากปริมาณความต้องการทองคำในปี 2536 ซึ่งมีปริมาณ 96 ตัน ปริมาณความต้องการทองรูปพรรณยังคงเป็นปริมาณหลักของตลาด โดยมีการบริโภคถึง 118 ตันในปี 2537 หรือเพิ่มขึ้น 28 % จากปี 2536 ในแง่ของการบริโภคทองคำเพื่อการลงทุนนั้น ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 4 ตัน ในปี 2536 เป็น 6 ตันในปี 2537 ในบทนี้จะบอกกล่าวถึงความเชื่อและปรัชญาของคนไทยในการสวมใส่อัญมณี โดยมีมูลเหตุจาก 3 หลัก ใหญ่ ๆ ดังนี้คือ

1. ความเชื่อที่อิงประเพณี ดังที่ได้กล่าวมาในบทต้น ๆ คนไทยนิยมให้ทองเป็นของขวัญ ในเทศกาลต่าง ๆ เช่น เมื่อเด็กแรกเกิด เข้าพิธีหมั้น แต่งงาน วันเกิด ฯลฯ หรือนิยมใส่เครื่องประดับที่ประดับด้วยพลอยนพเก้า นอกจากจะใช้สวมใส่เป็นเครื่องประดับแล้ว ครั้งโบราณคนไทยจะนำทองมาหล่อยอดเจดีย์ ทำเครื่องใช้ของกษัตริย์ และนิยมประยุกต์เครื่องประดับเข้ากับเครื่องรางของขลัง จะเห็นได้ว่าในยุคนี้มีพระพุทธบูชาที่ทำจากทองคำไม่ว่าจะเป็นทอง 22K หรือ 24K ออกมาอย่างมากมาย เหรียญพระพุทธรูปบางรุ่นก็ถูกประยุกต์ให้ฝังด้วยเพชร พลอยสีต่าง ๆ หรือแม้แต่ในยุคหนึ่ง คนไทยนิยมทำฟันทองใส่ เป็นต้น ในบางศาสนาเช่น ศาสนาคริสต์ ก็นิยมทำไม้กางเขนมาดัดแปลงเป็นเครื่องประดับ

2. ความเชื่อที่เสริมสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง ว่าคนไทยก็เหมือนกับชนชาติอื่น ๆ ที่ต้องการสวมใส่อัญมณีโดยมีจุดประสงค์ในการแสดงฐานะของตัวเอง ในอดีตกาลมีคำพังเพยที่ว่า “มีทองเท่าหนวดกุ้งนอนสะดุ้งจนเรือนไหว” ซึ่งนับว่าเป็นคำพังเพยซึ่งยังใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ คำพังเพยนี้สะท้อนให้รู้ถึงความมีค่าของทองต่อวิถีชีวิตไทย แสดงให้เห็นการจะได้ทองมานั้น จะต้องเป็นผู้มีอันจะกินหรือฐานะดี คนใดที่เพิ่งได้ทองมาย่อมเกิดอาการเป็นห่วง หวงแหนกลัวทองของตนจะหายไปเหล่านี้เป็นต้น

คนไทยบางคนก็นิยมใส่เครื่องประดับ เพราะเชื่อมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ใส่ทองที่ลอดลายเป็นช้าง กบ แล้วจะทำให้ตนร่ำรวย ฐานะดีขึ้น หรือผู้ชายบางคนใส่แหวนที่มีแบบเป็นรูปเสือประดับเพชร จะทำให้มีความรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจน่าเกรงขาม หรือบางคนอาจนิยมสวมใส่หยกเพราะมีความเชื่อว่า ใส่แล้วโชคดี ทำมาค้าขึ้น

3. ความเชื่อที่อิงกับเดือนที่เกิด คนไทยบางกลุ่มนิยมสวมใสเครื่องประดับอัญมณี โดยอิงกับสีพลอยตามเดือนที่ตนเกิด ซึ่งเป็นการอิงตามสากลนิยมดังนี้

มกราคม ใช้พลอย โกเมน (GARNET)

กุมภาพันธ์ ใช้พลอย หินเขี้ยวหนุมาน (AMETHYT)

มีนาคม ใช้พลอย พลอยสีฟ้าอ่อน (AQUAMARINE) 
        เมษายน ใช้พลอย เพชร (DIAMOND)

พฤษภาคม ใช้พลอย มรกต (EMERALD)

มิถุนายน ใช้พลอย มุก (PEARL)

กรกฎาคม ใช้พลอย ทับทิม (RUBY)

สิงหาคม ใช้พลอย เพอริดอท (PERIDOT)

กันยายน ใช้พลอย ไพลิน (BLUE SAPPHIRE)

ตุลาคม ใช้พลอย พลอยโอปอ ( OPAL)

พฤศจิกายน ใช้พลอย บุษราคัม (YELLOW SAPPHIRE)

ธันวาคม ใช้พลอย หินไข่นกการะเวก (TURQUOISE)

หรือเชื่อการแบ่งราศีออกเป็นธาตุ คือ

ปีชวด ธาตุน้ำ ปีมะเมีย ธาตุไฟ

ปีฉลู ธาตุดิน ปีมะแม ธาตุทอง

ปีขาล ธาตุไม้ ปีวอก ธาตุเหล็ก

ปีเถาะ ธาตุไม้ ปีระกา ธาตุเหล็ก

ปีมะโรง ธาตุทอง ปีจอ ธาตุดิน

ปีมะเส็ง ธาตุไฟ ปีกุน ธาตุน้ำ
Ankara escort
Ankara escort bayan
Escort ankara